วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

ถิ่นกำเนิดชนชาติไทย

ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยังหาหลักฐานมายืนยันอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าชนชาติไทย มีถิ่นกำเนิดที่แท้จริงอยู่ที่บริเวณใด คงมีเพียงข้ออ้างอิง ทฤษฎี และข้อสันนิฐาน ว่ามีถิ่นกำเนิดในที่ต่างๆ กันไป ตามแต่ใครจะหาหลักฐานอ้างอิง หรือมีเหตุผลประกอบการนำเสนอพร้อมหลักฐานอ้างอิงได้ ซึ่มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ค้นคว้า ศึกษา เสาะแสวงหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์มายืนยันอยู่หลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านก็ได้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเสนอพยานหลักฐานยืนยันแนวความคิดของตนเอง ซึ่งได้เสนอไว้เป็นแนวทางในการศึกษาถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ดังนี้



1. บริเวณตอนเหนือของประเทศจีน


ขุนวิจิตรมาตรา (รองอำมาตย์โทสง่า กาญจนาคพันธ์) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในหนังสือ “หลักไทย” ว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ที่บริเวณเทือกเขาอัลไต ทางตอนเหนือของจีน (ติดกับมองโกเลีย) ต่อมาจึงได้อพยพลงไปทางใต้เพื่อหาที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า และได้ก่อตั้ง “นครลุง” ขึ้น หลังจากนั้นอพยพมาทางบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน แล้วสร้างเมืองใหม่ คือ “นครปา” หรือ “อ้ายลาว” ซึ่งต่อมาถูกจีนครอบครอง จึงอพยพลงมาทางใต้ เข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน และดินแดนประเทศไทยปัจจุบันตามลำดับ



2. บริเวณตอนกลางของประเทศจีน



หลวงวิจิตรวาทการ และ พระยาอนุมาณราชธร ได้วิเคราะห์เรื่องถิ่นกำเนิดของไทยไว้ในหนังสือเรื่อง “งานค้นคว้าเรื่องเชื้อชาติไทย” ว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนที่เป็นมณฑลเสฉวน ฮูเป อันฮุย และ เกียงสี บริเวณตอนกลางของจีน ต่อจากนั้นจึงอพยพลงมาทางตอนใต้ที่เป็นมณฑลยูนนานและแหลมอินโดจีน




3. บริเวณตอนใต้ของจีน


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย) ได้แสดงพระราชดำริไว้ในนิพนธ์เรื่อง “แสดงบรรยายพงศาวดารสยามและลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ” ว่า แต่เดิมชนชาติไทยมีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนใต้ของจีน แถบมณฑลกวางตุ้ง และยูนนาน ต่อมาถูกจีนรุกรานจึงอพยพเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่ โดยแยกออกเป็น 2 สายดังนี้
- สายที่ 1 อพยพไปทางทิศตะวันตกแถบลุ่มน้ำสาละวินในพม่า และบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดียปัจจุบัน เรียกว่า “ไทยใหญ่”
-สายที่ 2 อพยพลงมาทางใต้แถบบริเวณแคว้นตัวเกี๋ย สิบสองจุไท สิบสองปันนา ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน เรียกว่า “ไทยน้อย”ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของคนไทยปัจจุบัน
4. บริเวณดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน
อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ ในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ได้มีนักโบราณคดี นักมนุษยวิทยา และนักชาติพันธุ์วิทยา ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ในยุดที่ยัง ไม่มีตัวอักษรสำหรับใช้บันทึกเรื่องราวของตนเป็นหลักฐานและความรู้ทางเทคโนโลยี ก็อยู่ในระดับต่ำซึ่งเรียกว่า “ยุคหิน” และ “ยุคโลหะ” อันเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏว่าได้ค้นพบโครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ ของมนุษย์ในสมัยดังกล่าวเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่า ในดินแดนอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบันนี้เคยเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกแห่งหนึ่ง ก่อนจะถึงยุดที่มีตัวอักษรบันทึกเรื่องราว แหล่งที่ค้นพบอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่สำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น